ซึ่ง โดยทั่วไปสเตนเลสแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างคือ ออสเทนนิติค เฟอร์ริติค ดูเพล็กซ์ มาร์เทนซิติค และเหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึกตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic)หรือที่รู้จักกันใน "ซีรี่ส 300" ซึ่งประมาณได้ว่า 70 เปอร์เซนต์ของการผลิตสเตนเลสในโลกนี้เป็นสเตนเลส
ตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic) ที่ ประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อย 0.15 เปอร์เซนต์ มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 16 เปอร์เซนต์ และ นิกเกิล หรือซึ่งช่วยปรับปรุง คุณสมบัติในการขึ้นรูปประกอบและเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน บางเกรดจะมีแมงกานีสผสมอยู่ด้วย โดยทั่วไปจะมีโครเมียม 18 เปอร์เซนต์ นิกเกิ้ล 10 เปอร์เซนตื และมักเรียกกันว่า 18/10 ซึ่งคล้ายกับ 18/0 และใ18/8
ตระกูลเฟอร์ริติค (Ferritic) มีสมบัติดูดแม่เหล็ก มีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักระหว่าง 10.5-27 เปอร์เซนต์ บางเกรดผสมนิกเกิ้ลลงไปเล็กน้อย บางเกรดผสมโมลิบดินัม หรืออลูมิเนียม ไททาเนียม
ตระกูลมาร์เทนซิติค (Martensitic) เป็น ตระกูลที่มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าออสเทนนิติค และเฟอร์ริติค แต่มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่า มีคุณสมบัติดูดแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของโครเมียม 14 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัม 0.2-1 เปอร์เซนต์ มีนิกเกิ้ล 0-2 เปอร์เซนต์และมีคาร์บอนผสม อยู่ประมาณ 0.1-1 เปอร์เซนต์ ซึ่งสามารถชุบแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วและอบ คืนตัว โดยทั่วไปจะรู้จักกันใน "ซีรี่ส -00"
ตระกูลดูเพล็กซ์ (Duplex) เนื่องจากมีโครงสร้างผสมระหว่าง โครงสร้างเฟอร์ไรต์และออสตไนต์ จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าออสเทนนิติคและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนชนิด รูเข็ม ซอกอับ มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19 ถึง 28 เปอร์เซนต์ โมลิบดินัมสูงกว่า 5 เปอร์เซนต์ และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติคใช้งานมากในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์ สูง
ตระกูลเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก มี ความต้านทานกการกัดกร่อนเทียบเคียงกับตระกูลออสเทนนิติค มีความแข็งแรงมากกว่าตระกูลมาร์เทนซิติค เกรด 17-4H ที่รู้จักกันทั่วไป มีโครเมียมผสมอยู่ 17 เปอร์เซนต์และมีนิกเกิล 4 เปอร์เซนต์ ทองแดง และไนโอเบียม ผสมอยู่ด้วย เนื่องจาก สเตนเลสชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊มหัววาล์ว และส่วนประกอบของ อากาศยาน
แนวทางการป้องกันการเสื่อมสภาพ 2 ขั้นตอน
1. ขั้นตอนในการออกแบบให้คำนึงถึงส่วนประกอบที่ต้องสัมผัสกับวัสดุอื่นโลหะ น้ำหรือของเหลว ในขณะการใช้งาน กล่าวคือ
เลือกใช้งานสแตนเลสชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งาน
การออกแบบต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีที่ว่างหรือช่องแคบ
คำนึงถึงความสะดวกในการทำความสะอาด
หลีกเลี่ยงการออกแบบที่สแตนเลสสัมผัสกับโลหะต่างชนิดเพื่อป้องกันการเกิดการกัดกร่อนแบบ เซลล์ไฟฟ้าเคมี
2. การผลิตชิ้นงาน และการติดตั้ง
ถ้าชิ้นงานมีฟิล์มพลาสติกเคลีอบอยู่เพื่อป้องกันผิวจากรอยขีดข่วนควรลอกพลาสติกที่เคลือบอยู่ ออกหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการขั้นสุดท้าย หรือโดยเร็วที่สุดหลังจากการติดตั้งชิ้นงาน หรือเก็บชิ้นงานไว้กลางแจ้ง และในกรณีที่มีคราบสกปรกให้ทำความสะอาดด้วยสารทำความสะอาดที่เหมาะสม และล้างออกด้วยน้ำสะอาดจนหมดจด
สิ่งที่ควรทำหลังจากการขึ้นรูปนูนต่ำ ลากขึ้นรูปลึก และการขึ้นรูป ควรใช้เครื่องมือที่สะอาดไม่มีเศษตกค้างของเหล็กและเหล็กกล้าจากงานอื่นๆ อยู่ ใช้น้ำมันหล่อลื่นที่เหมาะสม ส่วนการขจัดคราบน้ำมัน ควรใช้สารละลายทำความสะอาดที่ผ่านการกลึงเจาะ ไสอาจจะนำไปผ่านกระบวนการพาสซิเวขั่น เพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ควรเช็ดหรือทำบริเวณที่มีน้ำตก ค้างให้แห้ง เพื่อป้องกันคราบน้ำที่อาจเกิดขึ้น
วิธีการทำความสะอาดสำหรับคราบสกปรกทั่วๆ ไป
คราบสกปรก
วิธีการทำความสะอาด
รอยนิ้วมือ
ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรืออาเซโทน ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
น้ำมัน , คราบ
ล้าง ด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างด้วยสบู่ / ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่นๆ
สี
ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปรงไนล่อนนุ่มๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเข็ดให้แห้ง
Carbon Deposit or Baked-on
จุ่มลงในนำ้ ใช้สารละลายที่มีแอมโมเนียเ็ป็นส่วนประกอบ ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน
ทา ครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่้ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสแตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
ป้ายและสติกเกอร์
จุ่มลงในนำ้สบู่อุ่นๆ ลอกเอาป้ายออกแล้วถูกาวออกด้วยเบนซิน ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นให้ล้างด้วยน้ำอุ่น เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
รอยน้ำ / มะนาว
จุ่ม ลงในน้ำสัมสายชูเจือจาง (25%) หรือกรดไนตริก (15%) ล้างให้สะอาด ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
คราบชา - กาแฟ
ล้างด้วยโซดาไบคาร์บอเนตในน้ำ ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นเช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
คราบสนิม
จุ่ม ในน้ำอุ่นท่มีส่วนผลมสารละลายกรดไนตริก ในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด หรือล้างผิวด้วยสารละลายกรดออกชาลิคทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้งหรือต้องใช้เครื่องมือล้างหารคราบสนิมติด แน่น