1.กระจกแผ่น (Sheet Glass)
กระจกพื้นฐานที่มีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน โดยหลอมกระจกผ่านรางรีด ส่งผลให้ผิวกระจกไม่เรียบ
มีลักษณะเป็นคลื่น และให้ภาพสะท้อนมีลักษณะบิดเบี้ยวความแข็งแรงต่ำ ผิวกระจกเป็นรอยขูดขีด
ได้ง่าย มีราคาถูก แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ กระจกใส กระจกสี และกระจกฝ้า
2.กระจกโฟลต (Float Glass)
กระจกพื้นฐานก่อนมีการดัดแปลงเป็นกระจกประเภทอื่นๆ การผลิตเกิดจากการหล่อโดยให้น้ำกระจก
ไหลลอยบนผิวดีบุกจึงทำให้การผลิตและการควบคุมคุณภาพค่อนข้างยาก แต่กระจกที่ได้มีความโปร่ง
แสงสูง ฟองอากาศน้อยกว่าประเภทแรก ทนทานต่อรอยขีดขูด และพื้นผิวเรียบสนิททำให้ได้ภาพ
สะท้อนที่สมบูรณ์
กระจกที่มีการผลิตโดยนำกระจก Clear Float Glass มาอบความร้อนอีกครั้ง เมื่อกระจกอ่อน
ตัว แล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็วโดยการเป่าลมเย็นทั้ง 2 ด้าน ซึ่งทำให้กระจกประเภทนี้สามารถรับ
แรงดึงและดัดงอได้มากกว่า Clear Float Glassแต่ไม่สามารถทำการตัดหรือเจาะได้เมื่อแตก
จะเป็นเม็ดเล็กไม่คม(ลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวโพด)ร่วงหล่นออกมาจากกรอบทั้งหมด
นำกระจก Clear Float Glass มาอบความร้อนอีกครั้ง เมื่อกระจกเริ่มอ่อนตัวก็จะลดอุณภูมิ
เพื่อทำให้เย็นลงอย่างช้าๆจากกรรมวิธีการผลิตลักษณะนี้ส่งผลให้กระจกประเภทนี้สามารถรับแรงได้
มากกว่ากระจก Clear Float Glass ถึง 2-3 เท่าในกระจกที่มีความหนาที่เท่ากัน ผิวของ
กระจกจะแข็งส่งผลให้เมื่อแตกจะมีลักษณะเป็นปากฉลามยึดติดอยู่กับกรอบไม่ร่วงหล่นเหมือนกระจก
นิรภัยเทมเปอร์
5.กระจกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Reflective Glass)
กระจกที่นำเอากระจกธรรมดามาเคลือบผิวด้วยโลหะออกไซด์ที่มีค่าการสะท้อนแสงค่อนข้างสูงส่งผลให้
ความโปร่งแสงค่อนข้างน้อยซึ่งทำให้คนภายนอกอาคารสามารถมองเข้ามาภายในอาคารได้ลำบากใน
ขณะที่คนที่อยู่ภายในอาคารสามารถมองออกไปภายนอกได้ดีกว่า กระจกชนิดนี้มีหลากหลายสีขึ้นอยู่กับโลหะและวิธีการที่ใช้ในการเคลือบ
6.กระจกลามิเนตนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass)
กระจกที่ประกอบด้วยกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไป มาประกบหรือติดด้วย PVB (Poly Vinyl Butyral) ซึ่งมักจะนำเอากระจกชนิดต่างๆ จากที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น นำมาประกอบกันเพื่อให้ได้
กระจกที่มีคุณสมบัติตามที่ผู้ใช้งานต้องการโดยสาเหตุที่เรียกกระจกชนิดนี้ ว่ากระจกนิรภัยด้วยอันเนื่อง
มาจากเมื่อกระจกประเภทนี้เมื่อแตกกระจกจะติดกับ PVB ไม่ร่วงหล่นจากกรอบ
เป็นกระจกที่ประกอบด้วยกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปโดย กระจกที่จะอยู่ด้านนอกของอาคาร จะเคลือบ
สารที่ทำให้เกิดสภาพการแผ่รังสีที่ต่ำมาประกอบกันโดยมีช่องว่าง ซึ่งบรรจุอากาศแห้งอยู่ระหว่างแผ่น
กระจก ส่งผลให้มีคุณสมบัติเป็นฉนวน ช่วยรักษาอุณภูมิภายใน
8.กระจกฮีตสต๊อป (Heat Stop Glass)
เป็นกระจกที่มีลักษณเหมือนกระจกฮีตมิเรอร์แต่จะแตกต่างที่มีกาซอาร์กอนซึ่งบรรจุในช่องว่างแทนส่งผล
ให้สามารถสะท้อนความร้อนออกไปจากกระจกได้มากกว่ากระจกฮีตมิเรอร์
9.กระจกลวดลาย (Pattern Glass)
การนำเอากระจกโฟลตที่ยังไม่แข็งตัวมาเข้ากระบวนการโดยผ่านลูกกลิ้ง ที่มีพิมพ์ลวดลายติดอยู่ ส่งผล
ให้เกิดลวดนูนหรือลึกบนผิวของกระจกด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้ง 2 ด้าน ก่อให้เกิดลวดลายที่สวยงาม
แปลกตามักนิยมใช้ในงานตกแต่งแต่ในขณะเดียวกันเนื่องจากพื้นผิวที่ไม่เรียบของกระจกประเภทนี้จึงไม่
สามารถนำไปทำกระจกนิรภัยได้ทั้งยังสามารถรับแรงได้น้อยกว่า1 ใน 3 เท่าของกระจกใสที่มีความ
หนาเท่ากัน
10. กระจกเสริมลวด (Wired Glass)
กระจกที่ใส่แผงตาข่ายลวดลงในกระจกขณะที่กระจกหลอมเหลว เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแรงส่งผลให้
เป็นกระจกที่มีความแข็งแรงสูงและถือเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่งเนื่องจาก เมื่อกระจกแตกจะเป็นเม็ดละเอียด
และติดอยู่กับแผงตาข่ายลวด
11. กระจกทนไฟ (Fire Resistance Glass)
เป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่งผลิตขึ้นจากกระจกนิรภัยชนิดพิเศษ และนำไปประกบกับกระจกนิรภัยหลาย ๆ ชั้น โดยมี Sodium Silicate มาทำลามิเนตกันจนมีคุณสมบัติสามารถทนไฟได้นานสุด 2 ชั่วโมง
โดยไม่เสียรูป ป้องกัน ไฟ ควันและลดความร้อนที่จะเข้ามาสู่ภายใน
จากบทความในจุลสาร ACS ฉบับเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
http://www.hpihightech.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น